1. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ
ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติมี
4
ประเภท ดังนี้
1. สื่อโสตทัศน์
2. สื่อมวลชน
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมคอมพิวเตอร์
4.
สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ เช่น หอสมุด ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ประเภท
อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ
ตอบ 1.สื่อที่ใช้เครื่องฉาย
2.สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (Nonprojected Aids)
3.สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio aids)
3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์
เป็นของนักการศึกษาท่านใด
และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย
ตอบ เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์
และแสดงเป็นขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อ นำมาสร้างเป็น “กรวยประสบการณ์”
(Cone of Experience ) แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1. ประสบการณ์ตรง
ซึ่งเป็นขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง
สถานที่จริง
2. ประสบการณ์รอง
ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด
3.ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร
4. การสาธิต
เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย
5. การศึกษานอกสถานที่
ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน
6. นิทรรศการ
เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ
7.โทรทัศน์
ใช่ส่งได้ทั้งระบบวงจรเปิดหรือวงจรปิด
การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดิทัศน์
8. ภาพยนตร์
เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ลงบนฟิล์ม
9. การบันทึกเสียง วิทยุ
ภาพนิ่ง เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน
10. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น
แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ
11. วจนสัญลักษณ์
ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด
การจากกรวยประสบการณ์นี้ เดลได้จำแนกสื่อเป็น 3 ประเภท คือ
1. สื่อประเภทวัสดุ หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองจำแนกย่อยได้ 2 ลักษณะ
1.1วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นใช้อุปกรณ์อื่นช่วย
เช่น แผนที่ ลูกโลก รูปภาพ
1.2วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย
เช่น แผ่นซีดี ฟิล์มภาพยนตร์ สไลด์
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน
3. สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ หมายถึง
สื่อที่มีลักษณะเป็นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน
4. การสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ เดนนิส
แมคเควล (McQuail, 2005) กล่าวว่า การสื่อสารหมายถึงการให้และการรับความหมาย การถ่ายทอดและการรับสาร
ซึ่งรวมถึงแนวคิดของการโต้ตอบ แบ่งปัน และมีปฏิสัมพันธ์กันด้วย
ต่อไป Wilbur
Schramm ก็ได้ให้ความหมายของการสื่อสารไว้ว่า การสื่อสาร คือ
กระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางต่าง ๆ ไปยังผู้รับสารโดยมี
วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
สุมน อยู่สิน กล่าวว่า
การสื่อสาร คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ
หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1. ผู้ส่งสาร คือ
ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ
ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร
2 ทาง
ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย
ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง
ต่อเรื่องที่จะส่ง
ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การ
สื่อสารมีประสิทธิภาพ
2. ข่าวสาร ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ
ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อ
สะดวกในการส่งการรับและตีความ
เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อ
ความหมายง่ายขึ้น
3. สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส
และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก
สื่ออิเลกทรอนิกส์
4. ผู้รับสาร คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ
ผู้รับสารจะต้อง
มีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร
ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง
5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด
จงอธิบาย
ตอบ อยู่ในด้านสื่อหรือช่องทาง
(Medium
or Channal) เพราะ สื่อเป็นสิ่งที่นำสารออกไปจากผู้ส่งสารเพื่อนำไปส่งให้ผู้รับสาร
ส่วนเทคโนโลยีการศึกษาคือช่องทางที่จะนำทางให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารติดต่อกันได้
6. จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล
มาพอเข้าใจ
ตอบ เดวิด เค เบอร์โล (David K. Berlo) เสนอแบบจำลองการสื่อสารไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยอธิบายว่า การสื่อสารประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ 6 ประการ คือ
1. ต้นแหล่งสาร (communication
source)
2. ผู้เข้ารหัส (encoder)
3. สาร (message)
4. ช่องทาง (channel)
5. ผู้ถอดรหัส (decoder)
6. ผู้รับสาร (communication receiver)
จากส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ 6 ประการนั้น เบอร์โล
ได้นำเสนอเป็นแบบจำลองการสื่อสารที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปว่า "แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล"(Berlo's SMCR Model)โดยเบอร์โลได้รวมต้นแหล่งสารกับผู้เข้ารหัสไว้ในฐานะต้นแหล่งสารหรือผู้ส่งสาร
และรวมผู้ถอดรหัสกับผู้รับสารไว้ในฐานะผู้รับสาร
แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โลนี้ จึงประกอบไปด้วย S (Source or Sender) คือ ผู้ส่งสาร M (Message) คือ สาร C (Channel) คือ ช่องทางการสื่อสาร R (Receiver) คือ ผู้รับสาร ซึ่งปรากฎในภาพต่อไปนี้
จากแบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โลข้างต้นนี้
แสดงให้เห็นว่า ผู้ส่งสาร (Source
or S) คือ
ผู้เริ่มต้นการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการเข้ารหัส
ซึ่งผู้ส่งสารจะทำหน้าที่ในการสื่อสารได้ดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติต่าง ๆ 5 ประการคือ
1. ทักษะในการสื่อสาร เช่น
ความสามารถในการพูด การเขียน และ ความสามารถในการคิดและการใช้เหตุผล เป็นต้น
2. ทัศนคติ หมายถึง
วิธีการที่บุคคลประเมินสิ่งต่าง ๆ
โดยความโน้มเอียงของตนเองเพื่อที่จะเข้าถึงหรือเป็นการหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น ๆ เช่น
ทัศนคติต่อตนเอง ต่อหัวข้อของการสื่อสาร ต่อผู้รับสาร
ต่อสถานการณ์แวดล้อมการสื่อสารในขณะนั้น เป็นต้น
3. ความรู้ หมายถึง
ความรู้ของผู้ส่งสาร ในเหตุการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ
บุคคลหรือกรณีแวดล้อมของสถานการณ์การสื่อสารในครั้งหนึ่ง ๆ
ว่ามีความแม่นยำหรือถูกต้องเพียงไร
4. ระบบสังคม
ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการสื่อสารของบุคคล
เพราะบุคคลจะขึ้นอยู่กับกลุ่มทางสังคมที่ตนเองอยู่ร่วมด้วย
5. ระบบวัฒนธรรม หมายถึง
ขนบธรรมเนียม ค่านิยม ความเชื่อ ที่เป็นของตัวมนุษย์ในสังคม
และเป็นตัวกำหนดที่สำคัญในการสื่อสารด้วย เช่น การสื่อสารระหว่างบุคคลต่างวัฒนธรรมกัน
อาจประสบความล้มเหลวได้เนื่องจากความคิดและความเชื่อที่มีไม่เหมือนกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ในแง่ของสาร (Message or M) นั้น เบอร์โล หมายรวมถึง
ถ้อยคำ เสียง การแสดงออกด้วยสีหน้า อากัปกิริยาท่าทาง ที่มนุษย์สร้างขึ้นในขณะที่เป็นผู้ส่งสาร
ถ้าความหมายเป็นทางการ ก็คือ
ผลผลิตทางกายภาพที่เป็นจริงอันเกิดจากผลการเข้ารหัสของผู้ส่งสารนั่นเอง
ตามความคิดของเบอร์โลนั้น สารมีคุณสมบัติ 3 ประการคือ
1. รหัสของสาร (message code) เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาท่าทาง หรือรหัสอื่น ๆ
2. เนื้อหา (content)
3. การจัดสาร (treatment) คือ
วิธีการที่ผู้ส่งสารเลือกและจัดเตรียมเนื้อหาของสาร เช่น การใช้ภาษา ไวยากรณ์
ศัพท์ รวมถึง คำถาม คำอุทาน ความคิดเห็น เป็นต้น สารที่ถูกจัดเตรียมไว้ดี
จะทำให้เกิดการรับรู้ความหมายในผู้รับสารได้
ส่วนช่องทาง (Channel
or C) ช่องทาง
ซึ่งเป็นพาหนะนำสารไปสู่ผู้รับสาร และตามทัศนะของเบอร์โล
ทางติดต่อหรือช่องทางที่จะนำสารไปสู่ประสาทรับความรู้สึกทั้ง 5 ประการของมนุษย์ ได้แก่
1. การเห็น
2. การได้ยิน
3. การสัมผัส
4. การได้กลิ่น
5. การลิ้มรส
ประการสุดท้ายในด้านของผู้รับสาร (Receiver or R) นั้น
ก็จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติด้านต่าง ๆ 5 ประการ
เช่นเดียวกับผู้ส่งสาร คือ ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ความรู้
ระบบสังคมและระบบวัฒนธรรม
7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ อุปสรรคของการสื่อสารที่เกิดขึ้นมีหลายลักษณะ อาจซับซ้อนผิดแผกกันไป ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร ถ้าผู้ส่งสารขาดพื้นความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะสื่อสาร
แต่จำต้องพูดหรือเขียนออกไป ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นกระท่อนกระแท่น
ไม่มีแก่นสาร เช่น ถ้าจะบอกกล่าวหรือชี้ชวนก็ไม่มีจุดหมายชัดเจนว่าจะบอกกล่าวอะไร
หรือชี้ชวนเรื่องอะไร แม้เพียงจะตั้งคำถามก็ไม่รู้ว่าจะตั้งอะไร
ถึงจะตั้งไปก็มักจะไม่เข้าประเด็น เป็นที่น่ารำคาญแก่ผู้ถูกถาม
ถ้าผู้ส่งสารขาดความสนใจในเนื้อเรื่อง หรือในประเด็นของเรื่องที่สื่อสาร
และขาดความสนใจในตัวผู้รับสาร สารที่ส่งออกไปก็จะไม่น่าสนใจ
และไม่สู้จะมีความหมายแก่ผู้รับสารนัก
2. สาร อาจเป็นอุปสรรคในการสื่อสารได้
ถ้าซับซ้อนเกินไป หรือลึกซึ้งจนเกินกำลังสติปัญญาของผู้รับสาร
หรือห่างไกลจากประสบการณ์ของผู้รับสารมากเกินไปหรือมีความขัดแย้งกันในตัวสารนั้นเอง
ผู้รับสารก็จะเกิดความสับสน ในที่สุดก็ล้มเลิกความตั้งใจที่จะรับสาร
นอกจากนี้ถ้าตัวสารมีเนื้อความที่ผู้รับได้ยินบ่อยๆ ซ้ำๆ
ผู้ส่งสารพูดประโยคเยิ่นเย้อหรือเนื้อความแปลกใหม่เกินความนึกคิดของผู้รับสาร
สารนั้นเองก็จะกลายเป็นอุปสรรคของการสื่อสาร เพราะผู้รับสารไม่สนใจหรืองุนงงสงสัยในความแปลกใหม่ดังกล่าว
3. ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารนั้น ถ้าผู้รับสารไม่สามารถเข้าใจได้
หรือเข้าใจเพียงเลือนราง หรือเป็นภาษาที่ผิดระดับ
หรือเป็นสำนวนภาษาที่ไม่ตรงตามเนื้อหาของเรื่องราวที่จะส่งสาร
ภาษที่ใช้นั้นก็จะกลายเป็นอุปสรรคในการสื่อสารได้มาก
4. ผู้รับสาร ในทำนองเดียวกันกับผู้ส่งสาร
ถ้าผู้รับสารขาดพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านหรือฟัง
ย่อมไม่สามารถเข้าใจสารที่ส่งมาได้ หรือหากจะเข้าใจก็เข้าใจเพียงครึ่งๆ
กลางๆ เท่านั้น ไม่สามารถรับสารโดยสมบูรณ์ได้
ยิ่งถ้าผู้รับสารอยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ตอบคำถาม แต่ขาดความรู้หรือประสบการณ์ ย่อมตอบไม่ได้เอาเลย
การสื่อสารจึงเกือบจะเกิดขึ้นไม่ได้
การขาดความสนใจและการมีความรู้สึกไม่ดีของผู้รับสาร ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญแก่การรับสารเช่นเดียวกัน ความจริงข้อนี้ย่อมเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว
เพราะถ้าไม่สนใจและมีความรู้สึกที่ไม่ดี ย่อมไม่มีความพร้อมจะรับสาร
5. สื่อ ถ้าสื่อในการนำสารขัดข้อง
เช่น พูดกันในสถานที่ที่มีเสียงอื้ออึงรบกวน
พูดผ่านเครื่องขยายเสียงที่ปรับไม่พอเหมาะ พูดผ่านเครื่องโทรศัพท์ที่มีความขัดข้องทางเทคนิคหรือเขียนตัวหนังสือหวัดมาก
ใช้ตัวพิมพ์ที่เลอะเลือน ก็ย่อมทำให้ผู้รับสารได้ไม่สะดวก
หรืออาจรับไม่ได้เลย ทั้งๆ
ที่ผู้ส่งสารได้เตรียมสารไว้เป็นอย่างดี และผู้รับสารก็พร้อมที่จะรับสาร
6. กาลเทศะและสภาวะแวดล้อม เวลา สถานที่ และสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมย่อมให้เกิดการสื่อสารที่ดี ตรงกันข้ามเวลา
สถานที่ และสภาพแวดล้อม ที่ไม่เหมาะสมก็อาจเป็นอุปสรรคแก่การสื่อสาร
การสื่อสารในชีวิตและในสังคมนั้นในหลานกรณีหลายโอกาส
เรื่องที่สื่อสารมีความสลับซับซ้อน มีบุคคลจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง
และอาศัยสื่อนานาชนิด โอกาสที่จะเกิดอุปสรรคในการสื่อสารก็ยิ่งมีมากขึ้น
ไม่สามารถขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิงได้
8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ เป็นผู้ส่งสาร
ผู้รับสาร ข่าวสาร และสื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล
9. ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง
Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล
ตอบ
10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ
หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด
ตอบ การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large group Communication)